Can you really tell if a kid is lying? (แปลไทย)
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการการโกหกในวัยเด็ก (ซึ่งผมเชื่อว่าทุกคนก็เคยทำ ฮ่าๆ)
บทความนี้นำมาจาก TED ครับ หัวข้อ Can you really tell if a kid is lying? โดยคุณ Kang Lee
ปล. แปลผิดถูกบ้างขออภัยครับ เนื่องด้วยสกิลภาษาอังกฤษผมอ่อนมาก 5555
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คุณ Kang Lee ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการโกหกในเด็ก และในวันนี้เขาก็จะเอาสิ่งที่เขาได้พบบางส่วนมาให้ดูกัน
แต่ก่อนอื่นเขามีอะไรให้ดูสักหน่อย เป็นเรื่องของเพื่อนเขาเองสมัยชั้นประถมศึกษา
เขาโทรไปที่โรงเรียน แล้วบอกว่าลูกชายเขาไปเรียนไม่ได้ เนื่องจากเขาป่วย (โกหกว่าเป็นพ่อ)
ที่โรงเรียนเลยถามว่าเขาพูดอยู่กับใคร ?
อันนี้ผมแปลผิดนิดหน่อย(ตอนนี้มีแปลไทยแล้ว) จริงๆเป็นเรื่องราวของเพื่อน Kang Lee ในขณะที่เพื่อนเขาเป็นครูใหญ่
ซึ่งวันหนึ่งเขาได้รับโทรศัพท์จากเด็กคนหนึ่ง โดยเด็กคนนั้นก็โกหกว่าตัวเองเป็นพ่อ
เขาโทรไปที่โรงเรียน แล้วบอกว่าลูกชายเขาไปเรียนไม่ได้ เนื่องจากเขาป่วย (โกหกว่าเป็นพ่อ)
ที่โรงเรียนเลยถามว่าเขาพูดอยู่กับใคร ?
เพื่อนคุณ Kang Lee เลยตอบไปว่า …เพื่อนคุณ Kang Lee ที่เป็นครูใหญ่เลยถามกลับไปว่า ผมกำลังพูดกับใครอยู่ เด็กคนนั้นเลยตอบว่า..
I AM MY FATHER.
ถถถ+
คุณ Kang Lee เลยสรุปไว้ 3 อย่างเกี่ยวกับการโกหกในเด็ก คือ
1. เด็กๆจะโกหกหลังจากเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
2. เด็กๆโกหกได้แย่มาก ผู้ใหญ่อย่างเราๆสามารถจับโกหกได้ง่าย
3. ถ้าเขาโกหกตอนยังอยู่ในวัยเด็กเกินไป จะทำให้เขามีมลทินได้ จะทำให้เขาเกิดภาวะ Pathological Liar (โรคโกหกตัวเอง)
โรคหลอกตัวเอง หรือโกหกตัวเอง ที่ในวงการจิตวิทยาเรียกว่า Pathological Liar คืออาการผิดปกติทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยพูดโกหกได้เรื่อย ๆ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือมีความต้องการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม : http://health.kapook.com/view144660.html
เขาได้ทำการทดลองจากเด็กหลายๆคนบนโลก เป็นเดาหมายเลขที่อยู่ใต้การ์ด เขาบอกเด็กๆว่า ถ้าทายถูกจะมีรางวัลให้อย่างงาม
จากนั้นก็ขอตัวและปล่อยให้เด็กอยู่ในห้อง โดยก่อนออกจากห้อง เขาได้บอกเด็กๆไว้ด้วยว่า “อย่าแอบดู” นะจ๊ะหนูๆ
แน่นอน เราได้ทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในห้องนั้นแล้ว เพื่อดูการเคลื่อนไหวของเด็กๆ
และก็แน่นอน เด็กๆมากกว่า 90% ได้ทำการแอบดู หลังจากที่เราได้ออกจากห้องไปแล้ว
สิ่งที่สำคัญคือ เมื่อเรากลับเช้ามาในห้อง เราได้ถามเด็กๆว่าได้แอบดูหรือเปล่า? เด็กคนไหนจะสารภาพหรือจะโกหก
และนี่คือตารางแสดงพัฒนาการการโกหก จะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กๆยิ่งโตขึ้น ก็จะโกหกมากขึ้นเรื่อยๆ
เด็กบางคนเริ่มโกหกตั้งแต่อายุเพียง 2 ขวบ และหลังจากอายุ 4 ขวบ เด็กๆส่วนมากจะโกหก
ส่วนผสมของการโกหกที่ดี (โกหกอย่างแนบเนียน) ประกอบไปได้วย
1. การอ่านใจ – ต่างคนต่างมีความรู้ที่ต่างกัน เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ, ความสามารถในการแยกแยะระหว่าง สิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่คุณรู้
ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานของการโกหก ซึ่งก็คือ เรื่องที่เราโกหก “เรารู้” แต่ “คุณไม่รู้”
2. การควบคุมตนเอง – การควบคุมการพูด กิริยาท่าทาง ร่างการของตนเอง ยิ่งควบคุมได้มาก ก็จะยิ่งทำให้การโกหกนั้นแนบเนียนยิ่งขึ้น
นี่คือวิดีโอของเด็กสองคนที่ได้ซักถามว่าแอบดูการ์ดหรือเปล่า (ขอตัดเป็น gif มาให้ดูกันนะครับ)
จากนั้นเป็นการยกมือทายว่าเด็กคนแรกหรือคนที่สองโกหก (ผู้อ่านลองทายกันเล่นๆดูก็ได้ครับ)
ผลคือ (คลุมข้อความเพื่อดูคำตอบ) “เด็กคนที่สองคือคนที่พูดโกหก“
และนี่คือตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจับโกหกของเด็ก ของนักศึกษา ผู้ใหญ่ในสายงานต่างๆ
ที่น่าสังเกตคือ พ่อแม่ของเด็กๆเอง ที่คาดว่าน่าจะเป็นผู้ที่เข้าใจตัวเด็กมากที่สุด กลับกลายเป็นว่า ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ
จากตารางจะเห็นได้ว่า ผู้ที่จับโกหกเด็กได้มากที่สุดคือ จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ตำรวจ และผู้พิพากษา
ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้นะครับ ต่อจากนี้จะเป็นการพูดเกี่ยวกับการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจจับปฏิกิริยาท่าทาง โดยใช้อุณหภูมิ
ซึ่งนอกจากจะตรวจจับการพูดโกหก ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆได้อีกด้วย เช่นทางด้านการศึกษา ในการตรวจเช็คความรู้ความเข้าใจในชั้นเรียน
หรือด้านความรู้สึกต่อคนที่เราพาไปเดทด้วย หรือตรวจจับอารมณ์ของนักการเมืองก็ได้ (ฮา)
สามารถเข้าไปดูต้นฉบับได้จากที่นี่เลยครับ (ณ. ตอนที่ผมแปลยังไม่มีซับไทยนะครับ มีแต่ Eng.Sub)
Can you really tell if a kid is lying? | Kang Lee
ปล. ตอนแรกทวิตไว้เฉยๆไม่กะเอามาเขียนลง blog หรอก แต่อยู่ดีๆวันนี้นึกขยันซะงั้น ฮ่าๆ
https://twitter.com/sornram9254/status/740874667414589440